9/6/51

การถ่ายไฟกลางคืน

บันได 4 ขั้น
ในการถ่ายไฟกลางคืน

Main Page

Night1.jpg (14718 bytes)
ภาพถ่ายไฟกลางคืน
Night18.jpg (16417 bytes)

Night5.jpg (10692 bytes)


ในโอกาสที่มีงานเฉลิมพระชนมพรรษาของทุกปี จะมีการประดับประดาประทีปโคมไฟ
ต่างๆมากมายที่สวยสดงดงาม และหลายท่านก็คงอยากบันทึกภาพความสวยงามเหล่านี้
ไว้ดูได้นานๆ การถ่ายไฟกลางคืนไม่ยากลำบากอย่างที่หลายท่านกังวล เทคนิคง่ายๆใน
คราวนี้ จะเป็นแนวคิดในการถ่ายภาพของท่านครับ

สิ่งแรกที่ท่านควรจะพิจารณาได้แก่อุปกรณ์ถ่ายภาพ การจะได้ภาพถ่ายไฟกลางคืนที่ดีนั้น
กล้องที่ใช้ควรจะเป็นกล้อง SLR ติดเลนส์ตามที่ท่านชอบ ที่สำคัญกล้องควรจะมีขนาด
ความเร็วชัตเตอร์ต่ำๆให้เลือกใช้ อย่างเช่น 1-30 วินาที หรืจะเป็นชัตเตอร์ B จับเวลาเอง
ก็ได้ พร้อมขาตั้งกล้องและสายลั่นไกชัตเตอร์ ฟิล์มที่ใช้ควรใช้ขนาด ISO ประมาณ 100
จะดีในด้านความคมชัด รายละเอียดของแกรนภาพและสีที่อิ่มตัว

เมื่อท่านเตรียมพร้อมแล้ว คราวนี้ก็ถึงตอนที่ท่านจะทำการถ่ายภาพ ตามขั้นตอนต่อไปนี้

บันไดขั้นที่ 1 ตั้งกล้องวัดแสง เชิญคุณติดตั้งกล้องคู่ใจกับขาตั้งกล้อง
จัดองค์ประกอบให้พอใจ จากนั้นเปิดรูรับแสงให้กว้างที่สุด วัดแสงดูว่าได้ความเร็ว
ชัตเตอร์ที่เท่าใด เช่นตั้งขนาดรูรับแสงที่ F4 วัดแสงได้ขนาดความเร็วชัตเตอร์ 1/15
วินาที

บันไดขั้นที่ 2 เลือกขนาดรูรับแสง เลือกขนาดรูรับแสงให้แคบเล็กลง
เช่น F11 หรือ F16 เพื่อให้ได้ความชัดลึกที่สูงขึ้นในการควบคุมภาพถ่าย ซึ่งค่าแสง
จะเปลี่ยนไปจาก F4 ที่วัดได้ เช่นถ้าคุณตั้งที่ F11 จาก F4 ถึง F11 แล้วจะลดไป 3
สต็อป (4, 5.6, 8, 11) ภาพจะติดอันเดอร์ 3 สต็อป คุณก็ปรับเวลาเพิ่ม 3 สต็อป เช่น
จากเดิม 1/15 วินาที เพิ่มเวลา 3 สต็อป = 1/2 วินาที (1/15, 1/8, 1/4, 1/2) คุณ
จะได้ค่าแสงที่พอดีเท่าเดิม

บันไดขั้นที่ 3 ชดเชยแสง ปกติถ้าคุณถ่ายภาพไฟกลางคืนนั้น คุณจะใช้ค่า
แสงที่พอดีนี้ได้เลย ไม่ต้องชดเชยแสงก็ได้ในกรณีที่ถ่ายภาพด้วยสไลด์ แต่ถ้าคุณถ่ายภาพ
ด้วยฟิล์มสี (Negative) ควรเปิดชดเชยให้ Over 1 สต็อป โดยเพิ่มเวลาเช่นจาก 1/2
ในขั้นที่ 2 ใช้เป็น 1 วินาที ในกรณีที่คุณต้องการความมั่นใจ เมื่อถ่ายด้วยสไลด์ ขอแนะนำ
ให้ถ่ายเปิด Over เพิ่มอีก 1 สต็อป คร่อมไว้ก็สามารถทำได้

บันไดขั้นที่ 4 ถ่ายภาพ ขั้นนี้คุณก็พร้อมที่จะถ่ายภาพไฟกลางคืนได้อย่าง
สบายใจแล้วว่าได้ภาพแน่ๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น